ที่ตั้งและอาณาเขต <<รายการหลัก
ทิศเหนือ ติดกับบ้านห้วยผึ้ง หมู่ที่ ๓ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศใต้ ติดกับบ้านทุ่งมะส้าน หมู่ที่ ๕ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านแม่สุยะ หมู่ที่ ๖ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านห้วยขาน หมู่ที่ ๔ ตำบลหมอกจำแป่ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ลักษณะภูมิอากาศ <<รายการหลัก
บ้านนาปลาจาดมีภูมิอากาศร้อนชื้น โดยฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัด และในฤดูหนาวอากาศจะหนาวจัด ในช่วงกลางคืนมีหมอกหนา และฝนจะตกชุกในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิมีความแตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน เนื่องจากเป็นหุบเขา
สภาพทางสังคม <<รายการหลัก
บ้านนาปลาจาด ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านเป็นชาวไทยใหญ่ ใช้ภาษาไตในการสื่อการ การแต่งกายในพื้นที่จะแต่งชุดไทยใหญ่ ผู้ชายนิยมสวมกางเกงแบบเตี่ยวโย้ง หรือเตี่ยวสะดอแบบชาวล้านนาใส่ ผู้หญิงนิยมนุ่งผ้าซิ่นสวมเสื้อแบบชาวพม่าใส่ คือสาบเสื้อด้านหน้าจะป้ายไปด้านซ้ายหรือขวาติดกระดุม มีทั้งแขนสั้นและแขนยาว ตามคอหรือชายเสื้อนิยมปักฉลุเสื้อไต มีสีสันหลากหลาย และนิยมแต่งชุดไทยใหญ่ในช่วงงานประเพณี ชายหรือหญิงเวลาออกนอกบ้านนิยมสวมหมวก ที่เรียกว่า "กุ๊บไต" เป็นหมวกปีกกว้างยอดแหลมคล้ายหมวกของชาวเวียดนาม การสร้างบ้านในปัจจุบันสร้างแบบประยุกต์ คือมีทั้งการใช้โครงสร้างไม้ร่วมกับปูน เป็นบ้านชั้นเดียว
การคมนาคม <<รายการหลัก
ในสมัยนายอิ่งต่า คำจิ่ง เป็นผู้ใหญ่บ้าน ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลของ ฯพณฯ ท่านคึกฤทธิ์ ปราโมทย์ นายกรัฐมนตรี มาจ้างแรงงานชาวบ้านขุดถนนจากสามแยกบ้านทุ่งมะส้านเข้ามาถึงบ้านนาปลาจาด ในปัจจุบันคือถนนหลวงหมายเลข ๑๒๘๕ และต่อมาในสมัยนายบางเสน ทาแกง ได้ยื่นถวายฎีกาต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในคราวที่พระองค์ท่านเสด็จเยี่ยมชาวจังหวัดแม่ฮ่องสอน และได้รับการอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลในการสร้างถนน ขยายถนนเป็นถนนลาดลาง ปัจจุบันในชุมชนมีถนนคอนกรีตเสริมเหล็กแล้วประมาณร้อยละ ๗๕
ประชากร <<รายการหลัก
บ้านนาปลาจาด - คาหาน หมู่ที่ ๔ ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีครัวเรือนทั้งหมด....ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด ๑,๓๓๖ คน แยกเป็นชาย ๖๙๗ คน หญิง ๖๓๙ คน (อ้างอิงข้อมูลจากฐานทะเบียนราษฎร อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ณ วันที่ เดือน มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕)
การศึกษา <<รายการหลัก
บ้านนาปลาจาดในสมัย พ.ศ.๒๔๙๒ ได้เริ่มมีการจัดการศึกษา และได้มีโรงเรียนขึ้นเป็นแห่งแรก ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ได้มีการจัดระบบการศึกษาขึ้นเป็นระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๒ ศูนย์
บ้านนาปลาจาดในสมัย พ.ศ.๒๔๙๒ ได้เริ่มมีการจัดการศึกษา และได้มีโรงเรียนขึ้นเป็นแห่งแรก ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ และต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ได้มีการจัดระบบการศึกษาขึ้นเป็นระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ จนถึงปัจจุบัน มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน ๒ ศูนย์
โรงเรียนในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา
|
จำนวน
(โรง)
|
จำนวนนักเรียน
(คน)
|
๑.
โรงเรียนบ้านนาปลาจาด
|
๑
|
๗๕
|
๒.
โรงเรียนบ้านคาหาน
|
๑
|
๑๐๔
|
ศาสนาและพิธีกรรม <<รายการหลัก
ประชากรบ้านนาปลาจาด ร้อยละ ๙๕ นับถือศาสนาพุทธ และร้อยละ ๕ นับถือศาสนาคริสต์ มีศาสนสถานสำหรับประกอบกิจกรรมทางประเพณีและศาสนา ดังนี้
มีวัดจำนวน ๒ แห่ง
มีโบสถ์คริสต์ ๑ แห่ง
มีหอสวดมนต์ ๑ แห่ง
มีหอเจ้าเมือง ๑ แห่ง
สาธารณสุข <<รายการหลัก
สถานีอนามัยบ้านนาปลาจาด ได้รับการก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๒๘ โดยนายเสาร์ เพ็ญศรี ได้บริจาคที่ดินให้ในการก่อสร้าง และเปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน มีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน ๒๕ คน มีกองทุนเกลือเสริมไอโอดิน และกองทุนส่งเสริมสุขภาพ
สถานีอนามัยบ้านนาปลาจาด ได้รับการก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๒๘ โดยนายเสาร์ เพ็ญศรี ได้บริจาคที่ดินให้ในการก่อสร้าง และเปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน มีอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) จำนวน ๒๕ คน มีกองทุนเกลือเสริมไอโอดิน และกองทุนส่งเสริมสุขภาพ
ด้านเศรษฐกิจ <<กลับรายการหลัก
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะปลูกกระเทียม และปลูกถั่วเหลืองบางส่วน ซึ่งกระเทียมจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน ส่วนไม้ผลจะมีลิ้นจี่ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และจะมีกลุ่มที่ผลิตใบชาแห้งที่สามารถสร้างรายได้และเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว
ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจะปลูกกระเทียม และปลูกถั่วเหลืองบางส่วน ซึ่งกระเทียมจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน ส่วนไม้ผลจะมีลิ้นจี่ที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และจะมีกลุ่มที่ผลิตใบชาแห้งที่สามารถสร้างรายได้และเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัว
ตารางแสดงพื้นที่การเพาะปลูก
ประเภทพื้นที่
|
จำนวนราย
|
จำนวนไร่
|
ผลผลิต
|
เก็บไว้
|
จำหน่าย
|
๑.
ทำนาปลูกข้าว
|
๑๑๔
|
๑,๐๗๔
|
|||
๒. ปลูกถั่วเหลือง
|
๖๐
|
๓๕๐
|
|||
๓. ปลูกกระเทียม
|
๑๐๗
|
๓๑๗
|
|||
๔. ปลูกลิ้นจี่
|
๓๐
|
๙๐
|
|||
๕. ปลูกชา
|
๑๑
|
๘๐
|
|||
๖. อื่นๆ (งา,ข้าวโพด,กล้วย ฯ)
|
๑,๑๑๔๐
|
๒. ปั๊มน้ำมันหลอด ๑ แห่ง
๓. โรงสีข้าว ๔ แห่ง
๔. ร้านตัดผม ๑ แห่ง
๕. อู่ซ่อมรถ ๑ แห่ง
การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ <<รายการหลัก
ด้านการไฟฟ้า ปัจจุบันบ้านนาปลาจาดมีไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ จำนวนร้อยละ ๙๕ ของครัวเรือน และอีกร้อยละ ๕ ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เพราครอบครัวมีฐานะยากจน
ด้านการประปา บ้านนาปลาจาด มีน้ำจากระบบประปาภูเขาใช้ทุกครัวเรือน มีระบบประปาภูเขาจำนวน ๓ สาย และมีระบบประปาสะอาด ๑ แห่ง (๑) ประปาภูเขาห้วยไฮอ่อน (๒) ประปาภูเขาห้วยลึก (๓) ประปาภูเขาห้วยจ่าตี่
ด้านการโทรคมนาคม บ้านนาปลาจาดยังไม่มีโทรศัพท์แบบคู่สายใช้ แต่มีโทรศัพท์แบบเคลื่อนที่ โดยมีผู้ให้บริการจำนวน ๒ ราย คือ บริษัท AIS และ DTAC
ทรัพยากรน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติ บ้านนาปลาจาดมีแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำแม่สะงี มีลำห้วยสาขาประกอบด้วยห้วยไฮอ่อน ลำห้วยไฮหลวง ลำห้วยลึก ลำห้วยจ่าตี่ ลำห้วยปมฝาด ลำห้วยลาง ลำห้วยน้ำนอง ลำห้วยเฮี้ย ลำห้วยฝายคอ ลำห้วยผึ้ง ลำห้วยนาปู่ยอด ลำห้วยหมากพริก ฯลฯ ไหลลงมารวมกันในลำน้ำแม่สะงี
การใช้แหล่งน้ำ
|
จำนวน
|
หมายเหตุ
|
๑. ฝายคอนกรีตเสริมเหล็ก ลำน้ำแม่สะงี
|
๒ ฝาย
|
|
๒. ฝายหินทิ้ง ผันน้ำเข้านา
|
๒๕ ฝาย
|
|
๓. บ่อเก็บน้ำ - เลี้ยงปลา
|
๒๐ บ่อ
|
|
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม <<รายการหลัก
จากอดีตบ้านนาปลาจาดได้มีการทำไร่ข้าวแทบทุกครัวเรือน แต่หลังจากที่ในหลวงท่านได้มีพระราชดำรัสให้ดูแลป่า ชาวบ้านนาปลาจาดจึงได้ลดการทำไร่ข้าว และในปัจจุบันบ้านนาปลาจาดไม่มีการทำไร่และบุกรุกป่า หมู่บ้านได้ประชุมประชาคม กำหนดให้มีเขตอนุรักษ์พ้นธ์สัตว์น้ำขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ โดยกำหนดเอาบริเวณฝายชลประทานขนาดเล็กบ้านนาปลาจาดในการกำหนดเขตอนุรักษ์ ทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้อาราธนาท่านพระครูอนุสิฐธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดนาปลาจาดไปทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ (บวชน้ำ บวชปลา) ตรงบริเวณฝาย และท่านพระครูอนุสิฐธรรมคุณได้นำชาวบ้านปฏิญาณตนว่าจะช่วยกันรักษาแหล่งน้ำ รักษาพันธุ์สัตว์น้ำทุกชนิด และในทุกปีบ้านนาปลาจาด จะถือเอาวันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันบวชน้ำบวชปลาสืบชะตาแม่น้ำ และในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้ประกาศเขตอนุรักษ์ป่าขึ้น ในบริเวณป่าต้นน้ำห้วยไฮอ่อน รวมทั้งได้ออกกฎระเบียบหมู่บ้านในการดูแลรักษาเขตอนุรักษ์
จากอดีตบ้านนาปลาจาดได้มีการทำไร่ข้าวแทบทุกครัวเรือน แต่หลังจากที่ในหลวงท่านได้มีพระราชดำรัสให้ดูแลป่า ชาวบ้านนาปลาจาดจึงได้ลดการทำไร่ข้าว และในปัจจุบันบ้านนาปลาจาดไม่มีการทำไร่และบุกรุกป่า หมู่บ้านได้ประชุมประชาคม กำหนดให้มีเขตอนุรักษ์พ้นธ์สัตว์น้ำขึ้น ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ โดยกำหนดเอาบริเวณฝายชลประทานขนาดเล็กบ้านนาปลาจาดในการกำหนดเขตอนุรักษ์ ทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้อาราธนาท่านพระครูอนุสิฐธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดนาปลาจาดไปทำพิธีสืบชะตาแม่น้ำ (บวชน้ำ บวชปลา) ตรงบริเวณฝาย และท่านพระครูอนุสิฐธรรมคุณได้นำชาวบ้านปฏิญาณตนว่าจะช่วยกันรักษาแหล่งน้ำ รักษาพันธุ์สัตว์น้ำทุกชนิด และในทุกปีบ้านนาปลาจาด จะถือเอาวันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม เป็นวันบวชน้ำบวชปลาสืบชะตาแม่น้ำ และในปี พ.ศ.๒๕๕๔ ทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้ประกาศเขตอนุรักษ์ป่าขึ้น ในบริเวณป่าต้นน้ำห้วยไฮอ่อน รวมทั้งได้ออกกฎระเบียบหมู่บ้านในการดูแลรักษาเขตอนุรักษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น