วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมวันแม่ 12 สิงหามหาราชินี ปี 2557

ชาวบ้านนาปลาจาด-คาหาน ร่วมจัดกิจกรรมวันแม่แห่งชาติในวันที่ 12 สิงหาคม 2557 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มีกิจกรรมร่วมกันทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ช่วงสายมีกิจกรรมร่วมอนุรักษ์พันธุ์ปลา และกิจกรรมปลูกต้นไม้ ถวายแม่ของแผ่นดิน
กำนันชาตรี  คำจิ่ง  พร้อมด้วยชาวบ้านนาปลาจาด - คาหาน  ทำบุญตักบาตรเนื่องในวันแม่แห่งชาติ 
12 สิงหามหาราชินี ประจำปี 2557  


เข้าแถวรอตักบาตรกันอย่างพร้อมเพรียง 



 เสร็จพิธีช่วงเช้า สายๆ  เรามาระดมพลเพื่อร่วมกันอนุรักษ์ผืนป่าโดยมีกิจกรรมโครงการปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนป่าที่เราอาศัย ได้ประโยชน์ทั้งชุมชน  ระบบนิเวศน์  สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น


 

เพิ่มจำนวนต้นไม้สัก ไม้เศรษฐกิจที่นับวันจะหายากมากขึ้น  ปลูกวันนี้มีใช้ในวันข้างหน้า 




 ต้นไม้สักที่กำลังเจริญเติบโต

หลังจากนั้นมีกิจกรรมที่สำคัญอีกกิจกรรมหนึ่ง คือ กิจกรรมบวชน้ำ บวชปลา เพื่อเป็นการร่วมอนุรักษ์สายน้ำแม่สะงี สายน้ำที่หล่อเลี้ยงชุมชนหลายหมู่บ้านให้คงอยู่สืบไป พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนแม่ของแผ่นดิน  มีการปล่อยปลาลงในแหล่งน้ำที่อนุรักษ์  ทุกวันนี้เป็นที่ปรากฎชัดเจนว่า แหล่งอนุรักษ์พันธุ์ปลาของฝายชลประทานบ้านนาปลาจาด ช่วยเพิ่มปริมาณปลาและสัตว์น้ำในแหล่งน้ำแม่สะงีมากขึ้น


วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บ้านนาปลาจาด

ก่อนถึงหมู่บ้านนาปลาจาด

เขาสูง หมอกลอยเรี่ยยอดดอย
 วัดนาปลาจาด มองจากด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

๑.  นางลิ้นจี่  ฐิตินันท์พัชรกุล  แพทย์แผนไทย / ไม้กวาดดอกหญ้า
๒.  นางคำเหลิน  จักษุพร  สมุนไพรพื้นบ้าน
๓.  นางคง  ดวงเนตร  จักสานกุ๊บไต
๔.  นายเสาร์  เพ็ญศรี  ฮอลีก (ท่องธรรมไทยใหญ่)

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประวัติบ้านนาปลาจาด

ประวัติหมู่บ้านนาปลาจาด

          บ้านนาปลาจาด  หมู่ที่    ตำบลห้วยผา  อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เป็นชุมชนชาวไทยใหญ่มีการก่อตั้งมาประมาณ  ๑๗๕  ปี  (ตั้งแต่ปี  พ.ศ.๒๓๘๐)  จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ว่ามีการอพยพมาตั้งถิ่นฐาน โดยการอพยพมาจากพม่า  โดยมีการเรียกตัวเองว่า  "ไตเหนือ"  (คนไตที่มีดินแดนติดกับประเทศจีนตอนใต้)  โดยเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านนาปลาจาด  ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  สาเหตุของการอพยพเนื่องจากหนีภัยสงคราม  โดยมีนายเตยะ  ซึ่งเป็นไตเหนือ และนายจันทร์ติ๊บ  เป็นคนเมืองจากเชียงใหม่  เป็นชนกลุ่มแรกที่อพยพมาตั้งบ้านเรือน  บุกเบิกพื้นที่ทำไร่ทำนา  จากเดิมบ้านนาปลาจาดมีครัวเรือนประมาณ    ครัวเรือน  ตั้งอยู่ในกิโลเมตรที่    ตามถนนทางหลวงหมายเข  ๑๒๘๕  อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านในปัจจุบัน  ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ลุ่มน้ำแม่สะงี  จึงมีการบุกเบิกปรับพื้นที่ทำนา  ในสมัยนั้นมีปลาจำนวนมากในแหล่งน้ำ  โดยเฉพาะ  "ปลาจาด" เป็นชื่อเรียกปลาชนิดหนึ่งของท้องถิ่น  เป็นปลาที่พบได้ในแถบลุ่มน้ำสาละวิน  โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนปลาได้ขึ้นมาวางไข่ในพื้นที่นาเป็นจำนวนมาก  จึงได้เป็นที่มาของคำว่า  "นาปลาจาด"  ด้วยสาเหตุการฆ่ากันตายในหมู่บ้าน  จึงได้อพยพย้ายหมู่บ้านมาตั้งอยู่ที่หมู่บ้านในปัจจุบัน  เริ่มแรกได้มีการปกครองโดยผู้นำธรรมชาติ  ได้เลือกผู้นำธรรมชาติขึ้น  เรียกว่านายก้างป่าง  ("ก้าง" คือ ตำแหน่งผู้นำหมู่บ้าน หรือผู้ใหญ่บ้าน) จนนายก้างป่างได้เสียชีวิต และได้เลือกผู้นำธรรมชาติคนใหม่  คือนายก้างส้าน  ทำหน้าที่แทนและต่อมานายก้างส้าน  ได้เสียชีวิตชาวบ้านจึงได้เลือก  นายก้างมุหลิ่งต๊ะ  ขึ้นมาเป็นผู้นำธรรมชาติแทน  บ้านนาปลาจาดได้ประกาศสถานะเป็นหมู่บ้านในปี พ.ศ.๒๔๘๐  ปี พ.ศ.๒๔๙๐  ได้มีการแต่งตั้งนายตี๊  จันทร์แสง  ให้เป็นผู้ใหญ่บ้านจนถึงปี พ.ศ.  ๒๕๐๙  นายก้างตี๊ได้เสียชีวิต  ชาวบ้านจึงได้เลือก  นายอิ่งต่า  คำจิ่ง  เป็นผู้ใหญ่บ้านและมีสถานที่ราชการเกิดขึ้น  คือโรงเรียนบ้านนาปลาจาด  ประชากรและจำนวนหลังคาได้เพิ่มขยายตัวมากขึ้นเป็นลำดับ  ในพ.ศ.๒๕๑๙  นายอิ่งต่า  คำจิ่ง  ได้เกษียณอายุ  ชาวบ้านจึงได้เลือกนายโสภา  สายศิลปมงคล  เป็นผู้ใหญ่บ้าน  ในปี  พ.ศ. ๒๕๒๑  นายโสภา  สายศิลปมงคล  ได้ลาออกจากตำแหน่ง  ชาวบ้านจึงได้เลือกนายบางเสน  ทาแกง  ผู้ใหญ่บ้าน  ปี พ.ศ.๒๕๒๔  นายบางเสน  ทาแกง  ได้ลาออกจากตำแหน่ง  ประชาชนจึงได้เลือกนายโต  ทองดี  เป็นผู้ใหญ่บ้าน  ปี  พ.ศ.๒๕๒๘  นายโต  ทองดี  ได้ลาออกจากตำแหน่ง  ประชาชนจึงได้ขอให้นายบางเสน  ทาแกง  มาเป็นผู้ใหญ่บ้านอีกครั้งหนึ่ง และได้มีสถานที่ราชการเกิดขึ้นอีกแห่งคือ  สถานีอนามัยบ้านนาปลาจาด  ในปี พ.ศ.๒๕๓๓  นายบางเสน  ทาแกง  ได้ลาออกจากตำแหน่ง  ประชาชนจึงได้เลือกนายหลาว  เพชรอุดมพร  เป็นผู้ใหญ่บ้าน  ในปี  พ.ศ.๒๕๕๒  นายหลาว  เพชรอุดมพร  ได้เกษียณอายุราชการ  ในปี พ.ศ.๒๕๕๓  ประชาชนจึงได้เลือกตั้งนายชาตรี  คำจิ่ง  เป็นผู้ใหญ่บ้านจนถึงปัจจุบัน

กลุ่มอาชีพในชุมชน

๑.  กลุ่มเย็บผ้าห่มนาปลาจาด
๒.  กลุ่มจักสาน
๓.  กลุ่มผู้ปลูกชา
๔.  กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ

กลุ่มองค์กรในชุมชน

๑.  กลุ่มออมทรัพย์สตรีแม่บ้าน
๒.  กลุ่มฌาปนกิจสงเคราห์
๓.  กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน
๔.  กลุ่มกองทุนแม่ของแผ่นดิน
๕.  กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปอยจ่าตี่

ปอยจ่าตี่ หรือปอยเดือนหก เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทุกปี กิจกรรมในงานประเพณีนี้ประกอบด้วย การถวายเจดีย์ทราย